วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555



มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี ปัจจัยที่จะทำให้การรักษาได้ผลดีนั้นขึ้นอยู่กับระยะของโรคที่เป็น ถ้าเรายิ่งค้นพบให้ได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ ก็จะรักษาได้ การที่เราจะพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกนั้นต้องอาศัย 3 สิ่งต่อไปนี้
  1. การตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เมื่ออายุได้ 20 ปีขึ้นไป
  2. การตรวจเต้านมโดยแพทย์ทุก 3 ปี เมื่ออายุ 20 ปี เป็นต้นไป และเมื่ออายุถึง 40 ปี ควรที่จะได้รับการตรวจทุกปี
  3. การ ทำแมมโมแกรม ควรทำไว้เป็นเบื้องต้น 1 ครั้ง ในช่วงอายุ 35-40 ปี และทำทุก 1-2 ปี เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไปในบุคคลทั่วไป ส่วนสำหรับคนที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ควรทำการตรวจตั้งแต่อายุที่คนในครอบครัวเริ่มเป็น ในบางกรณีแพทย์อาจทำการตรวจด้วยอัลตร้าซาวน์ร่วมด้วย
การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง
เป็นการตรวจที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ถ้าเราทำเป็นประจำจะเป็นการลงทุนทางสุขภาพที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด โดย
  1. ตรวจเป็นประจำทุกเดือน
  2. ตรวจหลังประจำเดือนมา 7-10 วัน นับจากวันแรกของการมีประจำเดือน
  3. ตรวจวันเดียวกันของทุกเดือนถ้าคุณไม่มีประจำเดือนแล้ว



วิธีการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง1. ยืนหน้ากระจกแล้วดูที่เต้านมทั้ง2 ข้าง แล้วสังเกตว่า
ขนาด รูปร่าง สีผิว ตำแหน่งของเต้านมหัวนมเป็นอย่างไร และควรเทียบการเปลี่ยนแปลงกับเดือนก่อน

2. หลังจากนั้นให้ยกแขนขึ้นเหนือศรีษะทั้ง 2 ข้าง แล้วดูที่เต้านมอีกครั้ง ค่อยๆหมุนตัวช้าๆ เพื่อที่จะดูบริเวณด้านข้างของเต้านม
3. มือเท้าเอวและโน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย ดูความเปลี่ยนแปลงซ้ำอีกครั้ง
4. ใช้นิ้วมือบีบที่หัวนมเบาๆ ดูว่ามีเลือด หนอง หรือน้ำไหลออกจาหัวนมหรือไม่
5. เริ่มคลำเต้านม ให้คลำตั้งแต่กระดูกไหปลาร้าลงมา ใช้มือซ้ายคลำเต้านมข้างขวา ให้ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางทั้ง 3 นิ้ว ค่อยๆกดลงบนผิวหนังเบาๆและกดแรงขึ้น จนกระทั่งสัมผัสกระดูกซี่โครง คลำเต้านมให้ทั่วทิศทาง การคลำทำได้หลายแบบ สิ่งที่สำคัญคือต้องคลำให้ทั่วเต้านมไปจนถึงบริเวณรักแร้ใต้วงแขน หลังจากนั้นให้เปลี่ยนคลำอีกข้างแบบเดียวกัน

6. เมื่อเสร็งการคลำในท่ายืนแล้ว ให้เปลี่ยนเป็นคลำในท่านอน ใช้หมอนหนุนไหล่ข้างที่จะคลำ แล้วคลำซ้ำเหมือนท่ายืน


การตรวจพบที่ต้องระวัง
  • ก้อนเนื้อเต้านมหนากว่าปกติ Lump or thickening (breast, underarm)
  • ผิวหนังแดง หรือร้อน
  • รูขุมขนใหญ่ขึ้นเหมือนผิวส้ม
  • ผิวหนังบุ๋ม หรือมีการหดรั้ง
  • มีการนูนของผิว
  • ปวดกว่าปกติที่เคย
  • คัน มีผื่น โดยเฉพาะบริเวณหัวนม และฐานรอบหัวนม
  • หัวนมบุ๋ม
  • การชี้ของหัวนมเปลี่ยนทิศทาง
  • เลือดไหลออกจากหัวนม
  • มีแผลที่หายยากของเต้านม หัวนม

วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555


ความเป็นมาของวันแม่ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดีในปี ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว
ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทยงานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน

ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือ ดอกมะลิ เป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย


กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ
  • ดอกมะลิ ดอกไม้สัญลักษณ์วันเเม่ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ ร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพรแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
  • การประดับไฟเฉลิมพระเกียรติ และประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
  • จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ การแสดง การประกวดต่างๆ เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
  • การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล
  • นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบแม่








                                                           อย่าลืมรักแม่ทุกวันนะค่ะ
โรงพยาบส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคอนเลียบ

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

                 วันที่ ๘-๙ เดือน สิงหาคม ๒๕๕๕ ขอเชิญ อสม. เจ้าหน้าที่ทุกท่าน ประชาชนตำบลเตาไหทุกท่านให้ความร่วมมือในการสำรวจความชุกวัณโรคระดับประเทศ ในประเทศไทย ในเขตพื้นที่รับผิดชอบตำบลเตาไห อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
                วันที่ ๙-๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ ขอเชิญเจ้าหน้าที่ ประชาชนตำบลเตาไห หมู่ ๔,๙,๖,๕,๑   ขอเชิญ x-ray ปอด 
                          หมู่ ๖,๕   วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๕   ณ     ศาลาประชาคม บ้านสินเจริญ ม.๖
                          หมู่ ๔,๙   วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๕   ณ     วัดศรีบุญเรือง บ้านหม้อ  ม.๔
                          หมู่ ๑       วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕   ณ     วัดศรีบุญเรือง บ้านหม้อ  ม.๔

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคอนเลียบ

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

 

วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น

          "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เรียกว่า "ปุริมพรรษา"

          ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า "ปัจฉิมพรรษา" เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด

          สำหรับข้อยกเว้นให้ภิกษุจำพรรษาที่อื่นได้ โดยไม่ถือเป็นการขาดพรรษา เว้นแต่เกิน 7 วัน ได้แก่

          1.การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
          2.การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้
          3.การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด
          4.หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้


          นอกจากนี้หากระหว่าง เดินทางตรงกับวันหยุดเข้าพรรษาพอดี พระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่า ที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้ง ถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีก เพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้ 
          ทั้งนี้ โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขาร อันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษา นับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา...

          อย่าง ไรก็ตาม แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของพระภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญรักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่น ๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องสักการะบูชา ดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น พร้อมฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บาง คนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์ อย่างสูง 

นอกจากนี้ ยังมีประเพณีสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ "ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา" ประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษา ซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้ มีอยู่เป็นประจำทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษา พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้า – เย็น และในการนี้จะต้องมีธูป - เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็นการกุศลทานอย่าง หนึ่ง เพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว ตามชนบทนั้น การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ ก็จะมีการแห่แหน รอบพระอุโบสถ 3 รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา 3 เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่ง มีการแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงาม โดยถือว่าเป็นงานประจำปีเลยทีเดียว

          ทั้งนี้ ในปี 2555 นี้ "วันเข้าพรรษา" จะตรงกับวันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2555

 อย่าลืมไปทำบุญกันนะค่ะ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคอนเลียบ

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ธรรมจักกัปปวัตนสูต

                      วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน   โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จน พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่า วันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี

อย่าลืมไปทำบุญกันนะค่ะ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคอนเลียบ