วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ

วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ (20 มีนาคม)

 
ความเป็นมางานสาธรณสุขมูลฐานเกิดขึ้นหลัง จากมีคำประกาศปฎิญญาสากลเมื่อ ปี2521 ว่าประชาชนมีสิทธิและหน้าที่ที่จะให้ความร่วมมือทั้งรายบุคคลและเป็นคณะ เพื่อห้บรรลุสภาวะสุขภาพดีถ้วนหน้าภายในปี2543 องค์การอนามัยโลกได้จัดสรร ทรัพยากร เพื่อสนับสนุนงานสาธรณสุขซึ่งดำเนินโดยชุมชนหรือที่เรียกว่าสาธารณสุขมูลฐาน
สมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านนั้นมาดัดแปรง มาจากความคิดนี้มีโครงการทดลองที่ จังหวัด พิษณุโลก ซึ่งนายแพทย์ สมบูรร์ วัชโรทัย ได้ทำไว้โดยคัดเลือกชาวบ้านบางคนมาทำการฝึกอบรม ให้ทำการรักษาพยาบาลอย่างง่ายๆ ในระยะแรกๆพบอุปสรรคทางสถาบันการศึกษากล่าวว่าเป็นการสร้างหมอเถื่อนจึงรวบ รวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่คล้ายๆ กันนำเสนอความคิดเรื่องอาสาสมัครเข้าสู่การวางแผนระดับชาติ โดยมีการประชุมปรึกษากันหลายครั้ง ในที่สุดก็ได้รับความเข้าใจทุกฝ่าย
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2522 คณะรัฐมนตรีลงมติอนุมัติในหลักการตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอให้เปลี่ยนคำ ว่า การสาธารณสุขเบื้องต้น เป็นสาธารณสุขมูลฐาน ดังนั้นอาสาสมัคร(อสม)จึงถือว่าวันที่ 20 มีนาคม 2522 เป็นวันอาสาสมัครสาธารณสุขด้วย

กิจกรรม
จัดให้มีการประกวดเพื่อคัดเลือก อสม ดีเด่น และจัดนิทรรศการเกี่ยวกับงานสาธารณสุขมูลฐาน

NT>สำนักงานสาธารณสุขมูลฐานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มโครงการอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในปี พ.ศ.2520 ในระยะแรกเป็นไปในลักษณะโครงการทดลองใน 20 จังหวัด โดยดำเนินการทดลองในทุกอำเภอ อำเภอละ 1 ตำบลซึ่งตำบลที่เข้าไปดำเนินการต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
  1. เคยดำเนินการอบรมผู้สื่อข่าวสารสาธารณสุข (ผสส.) หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)มาแล้ว
  2. สะดวกต่อการเข้าไปนิเทศงานและประเมินผล
  3. มีสถานีอนามัยและมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำ
วัตถุประสงค์ ในการดำเนินงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้แก่
  1. เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพกันเองด้วยวิธีที่ง่ายประหยัด และทั่วถึง
  2. เพื่อช่วยบรรเทาภาวะขาดแคลนบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในชนบท
  3. เพื่อแก้ไขปัญหารักษาพยาบาลหรือดูแลรักษาสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน
ผู้ที่จะเข้ามาเป็นอาสาสมัครในการดูแลสุขภาพ อนามัยของเพื่อนบ้านโดยมิหวังผล ตอบแทนใดๆ เรียกว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. ควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
  1. มีความสมัครใจที่จะทำงานเพื่อส่วนรวมด้วยความเสียสละ และมีเวลาพอที่จะช่วยเหลือชุมชน
  2. มีความรู้อ่านออกเขียนได้
  3. เป็นผู้ที่ชาวบ้านไว้วางใจ
  4. มีที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพในหมู่บ้านนั้น ๆ
  5. มีอาชีพแน่นอนและมีรายได้เลี้ยงตนเอง
  6. ตั้งบ้านเรือนอยู่ในสถานที่ที่ประชาชนไปติดต่อได้ง่าย
  7. ไม่จำกัดเพศ และไม่จำกัดอายุ
  8. ไม่ควรเป็นข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือแพทย์ประจำตำบล

วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

วันสตรีสากล

วันสตรีสากล (8 มีนาคม)

เพื่อเรียกร้องสิทธิของผู้ใช้แรงงานหญิงที่ถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบและการถูกเลือกปฏิบัติที่มีต่อชนชั้นแรงงาน จึงเป็นกำเนิดของวันสตรีสากล ดังนั้น ในวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี ซึ่งองค์กรที่ทำงานด้านผู้หญิงหลายประเทศทั่วโลกได้มีการจัดงานวันสตรีสากล ขึ้น เพื่อรำลึกถึงการต่อสู้ของกลุ่มผู้ใช้แรงงานหญิง และเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล รวมทั้งการจัดกิจกรรมรณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลง หรือแก้ปัญหา โดยเฉพาะปัญหาที่ผู้ใช้แรงงานได้รับผลกระทบตามสถานการณ์ของแต่ละประเทศ
ความเป็นมาวันสตรีสากล
ณ เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา กรรมกรสตรีในโรงงานทอผ้าได้ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงการเอาเปรียบ กดขี่ ขูดรีด ทารุณ จากนายจ้างที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิตคน ความเป็นอยู่ของแรงงานสตรีในเมืองชิคาโก ว่ากันว่าไม่ต่างอะไรจากทาสนิโกรในเงื้อมมือคนผิวขาว เพราะต้องทำงานวันละ 12-15 ชั่วโมง แต่ได้รับค่าแรงานเพียงน้อยนิดส่วนสตรีตั้งครรภ์มักถูกไล่ออก
ในที่สุดภายใต้การนำของ คลาร่า แซทคิน ผู้นำกรรมกรสตรีโรงงานทอผ้าชาวเยอรมันลุกฮือขึ้นสู้ด้วยการเดินขบวนนัดหยุด งานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 โดยเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานจากวันละ 12-15 ชั่วโมง ให้เหลือวันละ 8 ชัวโมงพร้อมทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการภาย ในโรงงาน และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย ในการเรียกร้องครั้งนี้ แม้จะมีหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ได้รับการสนับสนุนจากสตรีทั้งโลก และส่งผลให้วิถีการผลิตแบบทุนนิยมเริ่มสั่นคลอน
แต่อย่างไรก็ตามอีก 3 ปีต่อมา คือ ในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 ข้อเรียกร้องของเหล่าบรรดากรรมกรสตรีก็ประสบความสำเร็จ เมื่อตัวแทนสตรีจาก 18 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยม ครั้งท์กที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี โดยให้ลดเวลาทำงานให้เหลือเพียงวันละ 8 ชั่วโมง ศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และกำหนดให้ค่าแรงงานสตรีเท่าเทียมกับค่าแรงงานชาย อีกทั้งยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย
นอกจากนั้นในการประชุมครั้งนั้น ยังได้มีการรับรองข้อเสนอของ คลาร่า แซทคิน ด้วยการประกาศให้วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันสตรีสากล
วันสตรีสากลในประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2532 ได้มีการก่อตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) ขึ้นอย่างเป็นทางการ ดังนั้นวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อฉลองเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล และระลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้เพื่อให้ได้ซึ่งความเสมอภาค ยุติธรรม สันติภาพ และการพัฒนา
และจัดตั้งขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระ นางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันมหามงคล 12 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนม์พรรษาของพระองค์ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะ ตรากตรำบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อให้คนไทยได้มีอาชีพ และได้พระราชทานให้วันที่ 1 สิงหาคมเป็น “วันสตรีไทย” ของทุกปี เพื่อให้ผู้หญิงไทยมีโอกาสแสดงถึงความรู้ ความสามารถในการพัฒนาประเทศ ควบคู่ไปกับการสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันสังคม และให้สามารถเทียบเท่าสตรีสากลของหลายประเทศที่เจริญแล้ว
ซึ่งทุกวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี จะมีการประกาศถึงเกียรติประวัติของสตรีชั้นแนวหน้าของโลกทั้งที่มีชีวิต และที่เสียชีวิตไปแล้ว เช่น เจ้าหญิงไดอาน่า แห่งอังกฤษ, แม่ชีเทเรซา แห่งประเทศอินเดีย, ประธานาธิบดี เมกาวลี แห่งอินโดนีเซีย และนางอองซานซูจี ของพม่าที่เรียกร้ธิปไตยกับประเทศ ส่วนในประเทศไทยมีอยู่หลายท่าน เช่น คุณหญิงแพทย์หญิงพรทิพย์ โรจนาสุนันท์, คุณสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ และคุณปวีณา หงสกุล ฯลฯ
วันสตรีไทยถือ เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง เพราะเปิดโอกาสให้ผู้หญิงไทยออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันสตรีมีบทบาทมากขึ้น มีความสามารถทัดเทียมผู้ชาย เป็นที่ยอมรับจากสังคม จะเห็นได้จากหน่วยงานราชการและภาคเอกชนเริ่มมีสตรีเข้าไปเป็นหัวหน้างานมาก ขึ้น รวมถึงการเข้าไปมีบทบาทในการบริหารประเทศชาติ สตรีไทยในยุคปัจจุบัน จึงต้องเป็นสตรีที่มีความรู้ความสามารถครบถ้วนทุกๆ ด้าน ทั้งด้านการบริหาร การจัดการ การเป็นแม่ที่ดีของลูก เป็นภรรยาที่ดีของสามี และเป็นแม่ศรีเรือนที่ดี พร้อมทั้งต้องก้าวทันกับยุคสมัย เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของสังคม