วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555



มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี ปัจจัยที่จะทำให้การรักษาได้ผลดีนั้นขึ้นอยู่กับระยะของโรคที่เป็น ถ้าเรายิ่งค้นพบให้ได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ ก็จะรักษาได้ การที่เราจะพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกนั้นต้องอาศัย 3 สิ่งต่อไปนี้
  1. การตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เมื่ออายุได้ 20 ปีขึ้นไป
  2. การตรวจเต้านมโดยแพทย์ทุก 3 ปี เมื่ออายุ 20 ปี เป็นต้นไป และเมื่ออายุถึง 40 ปี ควรที่จะได้รับการตรวจทุกปี
  3. การ ทำแมมโมแกรม ควรทำไว้เป็นเบื้องต้น 1 ครั้ง ในช่วงอายุ 35-40 ปี และทำทุก 1-2 ปี เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไปในบุคคลทั่วไป ส่วนสำหรับคนที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ควรทำการตรวจตั้งแต่อายุที่คนในครอบครัวเริ่มเป็น ในบางกรณีแพทย์อาจทำการตรวจด้วยอัลตร้าซาวน์ร่วมด้วย
การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง
เป็นการตรวจที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ถ้าเราทำเป็นประจำจะเป็นการลงทุนทางสุขภาพที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด โดย
  1. ตรวจเป็นประจำทุกเดือน
  2. ตรวจหลังประจำเดือนมา 7-10 วัน นับจากวันแรกของการมีประจำเดือน
  3. ตรวจวันเดียวกันของทุกเดือนถ้าคุณไม่มีประจำเดือนแล้ว



วิธีการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง1. ยืนหน้ากระจกแล้วดูที่เต้านมทั้ง2 ข้าง แล้วสังเกตว่า
ขนาด รูปร่าง สีผิว ตำแหน่งของเต้านมหัวนมเป็นอย่างไร และควรเทียบการเปลี่ยนแปลงกับเดือนก่อน

2. หลังจากนั้นให้ยกแขนขึ้นเหนือศรีษะทั้ง 2 ข้าง แล้วดูที่เต้านมอีกครั้ง ค่อยๆหมุนตัวช้าๆ เพื่อที่จะดูบริเวณด้านข้างของเต้านม
3. มือเท้าเอวและโน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย ดูความเปลี่ยนแปลงซ้ำอีกครั้ง
4. ใช้นิ้วมือบีบที่หัวนมเบาๆ ดูว่ามีเลือด หนอง หรือน้ำไหลออกจาหัวนมหรือไม่
5. เริ่มคลำเต้านม ให้คลำตั้งแต่กระดูกไหปลาร้าลงมา ใช้มือซ้ายคลำเต้านมข้างขวา ให้ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางทั้ง 3 นิ้ว ค่อยๆกดลงบนผิวหนังเบาๆและกดแรงขึ้น จนกระทั่งสัมผัสกระดูกซี่โครง คลำเต้านมให้ทั่วทิศทาง การคลำทำได้หลายแบบ สิ่งที่สำคัญคือต้องคลำให้ทั่วเต้านมไปจนถึงบริเวณรักแร้ใต้วงแขน หลังจากนั้นให้เปลี่ยนคลำอีกข้างแบบเดียวกัน

6. เมื่อเสร็งการคลำในท่ายืนแล้ว ให้เปลี่ยนเป็นคลำในท่านอน ใช้หมอนหนุนไหล่ข้างที่จะคลำ แล้วคลำซ้ำเหมือนท่ายืน


การตรวจพบที่ต้องระวัง
  • ก้อนเนื้อเต้านมหนากว่าปกติ Lump or thickening (breast, underarm)
  • ผิวหนังแดง หรือร้อน
  • รูขุมขนใหญ่ขึ้นเหมือนผิวส้ม
  • ผิวหนังบุ๋ม หรือมีการหดรั้ง
  • มีการนูนของผิว
  • ปวดกว่าปกติที่เคย
  • คัน มีผื่น โดยเฉพาะบริเวณหัวนม และฐานรอบหัวนม
  • หัวนมบุ๋ม
  • การชี้ของหัวนมเปลี่ยนทิศทาง
  • เลือดไหลออกจากหัวนม
  • มีแผลที่หายยากของเต้านม หัวนม