วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วันสิ้นปี 2559 ตรงกับวันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม ซึ่งถือเป็นวันหยุดสิ้นปี 2559 ของหน่วยงานราชการและเอกชน ประวัติวันสิ้นปี เป็นมาอย่างไร ไปดูกัน
 
          วันสิ้นปี หรือ วันส่งท้ายปีเก่า คือ วันสุดท้ายของปี ซึ่งตรงกับวันที่ 31 ธันวาคม ตามปฏิทินเกรโกเรียน (Gregorian Calendar) ซึ่งดัดแปลงมาจากปฏิทินจูเลียน ใช้กันแพร่หลายในประเทศตะวันตก โดยประกาศใช้ครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 13 เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2125 (ค.ศ. 1582) โดย วันสิ้นปี 2558 ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม 

          ปัจจุบันนิยมใช้วันสิ้นปีกันทั่วโลก ทางการกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ คืนวันนี้จะมีการจัดงานนับถอยหลัง (countdown) เพื่อเข้าสู่วันขึ้นปีใหม่ในเวลาเที่ยงคืนตามเมืองใหญ่ทั่วโลกซึ่งเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน โดยมักมีการจุดพลุเฉลิมฉลอง สำหรับวันสิ้นปีของประเทศไทย นอกจากจะเป็นวันหยุดของหน่วยงานราชการ ธนาคาร บริษัทต่าง ๆ แล้ว ก็ยังมีการจัดกิจกรรม สวดมนต์ข้ามปี เพื่อเป็นสิริมงคล และถือเป็นนิมิตหมายของการตั้งใจทำความดีของผู้ร่วมกิจกรรมอีกด้วย

          เมืองที่ส่งท้ายวันสิ้นปีเข้าสู่ปีใหม่เรียงตามลำดับเวลา 

          (**ในวงเล็บเป็นเวลาประเทศไทยซึ่งตรงกับเวลาเที่ยงคืนของแต่ละเมือง)

          - ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย (วันที่ 31 ธันวาคม เวลา 20.00 น.)
          - โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (วันที่ 31 ธันวาคม เวลา 22.00 น.)
          - ฮ่องกง (วันที่ 31 ธันวาคม เวลา 23.00 น.)
          - กรุงเทพฯ ประเทศไทย (วันที่ 1 มกราคม เวลา 00.00 น.)
          - ปารีส ประเทศฝรั่งเศส/เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี (วันที่ 1 มกราคม เวลา 06.00 น.)
          - ลอนดอน สหราชอาณาจักร (วันที่ 1 มกราคม เวลา 07.00 น.)
          - ริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล (วันที่ 1 มกราคม เวลา 09.00 น.)
          - นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา/โทรอนโต ประเทศแคนาดา (วันที่ 1 มกราคม เวลา 12.00 น.)

            การเฉลิมฉลองวันสิ้นปีที่ไทม์สแควร์ มหานครนิวยอร์กของสหรัฐฯ

          ไทม์สแควร์ คือ สถานที่จัดงานนับถอยหลังสู่ปีใหม่ที่โด่งดังไปทั่วโลก โดยในคืนวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปีจะมีลูกบอลหล่นลงมาจากอาคารวันไทม์สแควร์ เทศกาลนี้ถูกจัดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) นับแต่นั้นเป็นต้นมาไทม์สแควร์ได้กลายเป็นสถานที่หลักในการนับถอยหลังสู่ปี ใหม่ของนครนิวยอร์ก ซึ่งในคืนนั้นเองผู้คนหลายหมื่นคนจะมารวมตัวกันที่นี่เพื่อชมลูกบอลวอ เทอร์ฟอร์ดคริสตัลถูกหย่อนลงมาจากยอดอาคาร (โดยลูกบอลจะถูกหย่อนลงมาช้า ๆ แต่จะไม่ตกถึงพื้นตามที่หลายคนเข้าใจ)

          สำหรับลูกบอลยักษ์นี้มาแทนที่การแสดงพลุดอกไม้ไฟอันฟุ่มเฟือยในคืนก่อนวันปี ใหม่ที่เคยถูกจัดในช่วงปี ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447)-ค.ศ. 1906 (พ.ศ. 2449) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เทศกาลนี้ถูกระงับชั่วคราวและแทนที่ด้วยการสั่นระฆังตามโบสถ์แทน เนื่องจากทางรัฐบาลต้องการให้ทุกหนแห่งในนิวยอร์กดับไฟมืดลงเพื่ออำพรางตัว เมืองให้พ้นจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายเยอรมนี

          อย่างไรก็ตาม หลังจากช่วงสงครามเทศกาลส่งท้ายวันสิ้นปีก็จัดขึ้นตามเดิม ปัจจุบันการนับถอยหลังสู่ปีใหม่ และไทม์สแควร์ได้สรรค์สร้างวัฒนธรรมการฉลองปีใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์และดึงดูด สายตาจากคนทั่วโลก ส่วนลูกบอลที่ใช้ได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาซึ่งปัจจุบัน กลายเป็นลูกบอลที่ติดด้วยแสงไฟแอลอีดี ลูกบอลแอลอีดีนี้ถูกใช้ครั้งแรกในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550)
          และในปีถัดมาในการขึ้นปีใหม่ ค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2552) ลูกบอลแอลอีดีถูกทำให้ใหญ่ขึ้นและใช้รูปแบบนี้ถาวร และยังใช้ในเทศกาลอื่น ๆ เช่น วันวาเลนไทน์หรือวันฮาโลวีน ในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542) ซึ่งเป็นการสิ้นสุดสหัสวรรษที่ 20 มีรายงานว่าการนับถอยหลังเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ที่ไทม์สแควร์ทำให้ผู้คนล้นไท ม์สแควร์ ประมาณกันว่าน่าจะมีคนมาร่วมงานกันถึง 2 ล้านคน มากที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่วันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488)